ท่อลำเลียงอาหาร


ท่อลำเลียงอาหาร

เมื่อพืชสังเคราะห์ด้วยแสงที่บริเวณใบจะได้ น้ำตาล น้ำ และแก๊สออกซิเจนน้ำตาลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช  จะสะสมไว้ที่เซลล์สีเขียวในรูปของแป้งซึ่งเป็นอาหารของพืช      แต่พืชจะมีการลำเลียงอาหารโดยการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล      แล้วส่งผ่านไปตามกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ี่เรียกว่า ท่อลำเลียงอาหาร (Phloem) อาหารจะถูกลำเลียงโดยวิธีการแพร่ไปยังส่วนต่างๆ ของพืช      เพื่อใช้เป็นพลังงานในกระบวนการต่างๆ หรือเก็บสะสมไว้เป็นแหล่งอาหารซึ่งอยู่ในรูปของแป้งหรือน้ำตาล   ที่มีอยู่บริเวณลำต้นราก หรือผล

ถ้าเราตัดลำต้นในลักษณะตามขวาง   จะสังเกตเห็นลักษณะการจัดเรียงตัวของกลุ่มเซลล์ท่อลำเลียงอาหารของพืชใบเลี้ยงคู่   จะเรียงเป็นวงอยู่ในรัศมีเดียวกันรอบลำต้นที่บริเวณเปลือกไม้      บริเวณกลุ่มเซลล์ท่อลำเลียงจะพบเนื้อเยื่อเจริญแคมเบียม (Cambium )     จะทำหน้าที่แบ่งตัวออกทางด้านข้าง  ทำให้ลำต้นขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้


ภาพแสดง ตำแหน่งท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารในพืชใบเลี้ยงคู่
ที่มารูปภาพ : http://www.bwc.ac.th/Science/sumena/cell3.htm

การลำเลียงอาหารของพืชที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว    จะมีทิศทางจากใบที่อยู่ส่วนบนลงมายังกิ่ง ก้าน และลำต้นส่วนล่างของพืชเป็นส่วนใหญ  ในขณะที่เป็นต้นอ่อนอยู่นั้น   การลำเลียงอาหารของพืชจะออกจากใบเลี้ยงหรือเอนโดสเปิร์มภายในเมล็ดไปยังส่วนรากและส่วนยอด  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าทิศทางการลำเลียงอาหารของพืชมีทั้งแนวขึ้นและแนวลง

เซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารโดยตรงจะต้องเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่   การลำเลียงอาหารของพืชจะเกิดขึ้นในบริเวณเซลล์ที่มีชีวิต    ถ้าเซลล์์บริเวณใดตายการลำเลียงอาหารก็จะหยุดชะงักทันที        ทั้งนี้อาหารที่ถูกลำเลียงในกลุ่มเซลล์ท่อลำเลียงอาหารจะออกจากท่อไปยังเซลล์ต่างๆ ได้ด้วยกระบวนการแพร่

 เมื่อพิจรณาอัตราการลำเลียงอาหารพบว่าการลำเลียงอาหารในท่อลำเลียงอาหารจะเกิดได้ช้ากว่าการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุในท่อลำเลียงน้ำ ทั้งนี้ อัตราการลำเลียงอาหารของพืชจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับชนิดของพืช   ชนิดของสารที่ถูกลำเลียง และช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืนด้วย



ขอขอบคุณข้อมูลจาก  :  http://www.bwc.ac.th/Science/sumena/cell3.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น